ไฟลัมโพรโทซัว (Phylum Protozoa)
เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ โพรโทซัวมีรูปร่างลักษณะหลายแบบ บางพวกมีแฟลเจลลัม (flagellum) ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ยื่นออกไปจากตัว สำหรับใช้ในการเคลื่อนที่ เช่น ยูกลีนา แคลมิโดโมแนส (Chlamydomonas sp.)
บางพวกมีซิเลีย (cilia) ซึ่งมีลักษณะคล้ายขนเส้นเล็กๆ สั้นๆ อยู่ที่ผิวหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเซลล์ สำหรับใช้ในการเคลื่อนที่เช่น พารามีเซียม (Paramecium sp.) วอร์ติเซลลา (Vorticella sp.)
บางพวกเช่น อะมีบา (Amoeba) เคลื่อนที่ได้โดยการไหลของไซโทพลาสซึม คือเมื่อไซโทพลาสซึมไหลไปทางใด ก็จะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ทางนั้นยื่นปูดออกไป เรียกส่วนนั้นว่า ซูโดโปเดียม (pseudopodium)
โพรโตซัวส่วนใหญ่หากินเป็นอิสระในน้ำ บางชนิดเป็นปรสิต และเป็นสาหตุของโรคบางอย่างในคน เช่น อะมีบาชนิดหนึ่งชื่อ Entamoeba histolytica ทำให้เกิดโรคบิด ลำไส้อักเสบ ท้องร่วง อีกชนิดหนึ่งที่รู้จักกันดี ได้แก่ พลาสโมเดียม (Plasmodium sp.) ซึ่งเป็นสาเหตุของเชื้อไข้มาเลเรีย
พลาสโมเดียมไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่ พลาสโมเดียมที่พบในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ Plasmodium falciparum เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียขึ้นสมอง มีอาการรุนแรง มีการจับไข้ทุกวัน อีกชนิดหนึ่ง คือ Plasmodium vivax ทำให้เกิดมาลาเรียลงตับ มีการจับไข้ทุก 2 วัน ปัจจุบันเชื้อมาลาเรียมีความดื้อยาสูง และยังพบผุ้ป่วยในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
โพรโทซัวบางชนิดดำรงชีวิตแบบภาวะที่ต้องพึ่งพากับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น Entamoeba coli ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์ใหญ่ของสัตว์ชั้นสูงรวมทั้งคนด้วย พวกนี้จะกินแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อะมีบาอีกชนิดหนึ่งคือ Entamoeba gingivalis อาศัยอยู่ที่คอฟัน คอยกินแบคทีเรียในปาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น