วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta)

ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta)

สิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้เรียกรวมๆ ว่า ราเมือก ได้แก่ สเตโมนิติส (Stemonitis sp.) ไฟซารัม (Physarum sp.) ชอบขึ้นอยู่ในที่ชื้นแฉะมีสิ่งปฏิกูลของพืชหรือสัตว์ ตามขอนไม้หรือใบไม้ผุๆ วัฏจักรชีวิตของราเมือกมี 2 ระยะ คือ ในระยะหนึ่งของชีวิตจะมีลักษณะคล้ายแผ่นวุ้น ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์มารวมกันโดยแต่ละเซลล์ไม่มีผนังกั้น จึงเห็นมีนิวเคลียสเป็นจำนวนมาก มองดูคล้ายกับร่างแหอยู่ภายในแผ่นวุ้น มีสีส้ม สีเหลือง ขาว หรือใส ไม่มีรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงต้องอาศัยพลังงานจากสารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิตอื่น แผ่นวุ้นนี้สามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายอะมีบา อีกระยะหนึ่งเป็นระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือกจะสร้างอับสปอร์ เมื่ออับสปอร์แตกสปอร์จะปลิวไป ถ้าตกในที่เหมาะสมก็จะงอกและเจริญเติบโตมีลักษณะคล้ายแผ่นวุ้นสลับกันอยู่เช่นนี้

ราเมือกส่วนใหญ่มักดำรงชีวิตแบบภาวะการย่อยสลาย บางชนิดเป็นปรสิตในพืชที่รู้จักกันดี ได้แก่ พลาสโมดิโอฟอรา (Plasmodiophora sp.) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรครากโป่งในกะหล่ำปลีและผักชนิดอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น